ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นาย กล้าณรงค์ วงศ์ษาโรจน์ ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา PC 54505 ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดและเพิ่มเติมเนื่อหาตัวเองเพื่อการศึกษาได้>
Powered By Blogger

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

การออกแบบการเรียนการสอน
 การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1.  ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน  การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ  การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น  การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้   และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2.  ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3.  ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ  การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4.  ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล  ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5.  ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6.  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่ 
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน: WHERE:  การออกแบบการเรียนรู้
W   Where are we heading?  เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
H    Hook the student through provocative entry points   ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E    Explore and Enable      การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้
R    Reflection and Rethink  การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E     Exhibit and Evaluate       การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง
ครูผู้สอน: มิติการคิด: นักประเมินผลและนักออกแบกิจกรรม
การคิดอย่างนักประเมินผล
การคิดอย่างนักออกแบกิจกรรม
อะไรคือหลักฐานการเรียนรู้ที่เพียงพอและชัดเจน
กิจกรรมอะไรทำให้ผู้เรียนเข้าใจและติดตาม
อะไรคือจุดเน้นของการเรียนการสอน
จะใช้สื่ออุปกรณ์ชนิดใดสำหรับหัวข้อนี้
อะไรคือจุดจำแนกผู้เรียนที่รู้และไม่รู้
จะกำหนดกิจกรรมและโครงการอย่างไร
อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินงาน
จะให้คะแนนและชี้แจงประเมินผลอย่างไร
จะตรวจสอบความเข้าใจผิดของผู้เรียนได้อย่างไร
กิจกรรมที่ไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร

ทฤษฎี​​​​​ การออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​ (Instructional System Design : ISD) ซึ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​เนื้อหาที่รายวิชา​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอ​​​​​​​​​ไว้​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์ที่​​​​​ 3 โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ​​​​​ แต่ละรูปแบบสรุป​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​อยู่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​กรอบของ​​​​​ ADDIE Model (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation) 
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ตัว​​​​​ ​​​​​เมื่อ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​รับมอบหมาย​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ภาควิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​รับผิดชอบสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​จะวางแผนการสอน​​​​​ สิ่งแรกที่​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​ (​​​​​เป็น​​​​​​​​​ข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ส่ง​​​​​ แนวการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) ตลอด​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ภาคเรียน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​อาจมีรายละ​​​​​​​​​เอียดที่​​​​​​​​​แตกต่าง​​​​​​​​​กัน​​​​​​​​​บ้าง​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละสถาบัน​​​​​ แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​น่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​คร่าว​​​​​ ​​​​​ ส่วน​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ได้​​​​​​​​​แก่
ข้อมูลเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​ คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา จุดประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์​​​​​ ​​​​​ที่ประกอบ​​​​​​​​​ด้วยจุดประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​ ​​​​​เนื้อหา​​​​​ (หัวเรื่องหลัก​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​หัวเรื่องรอง) กิจกรรม​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน​​​​​ ชื่อตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​หนังสื่อที่​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​ ​​​​​เกณฑ์การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล
กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้​​​​​ ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ​​​​​เพียงแต่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​แบ่งแยกขั้นตอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ชัดเจน​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​บางขั้นตอน​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​อาจ​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​สมบูรณ์ ผมลองวิ​​​​​​​​​เคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอนที่ผ่านมา​​​​​ เชื่อมโยง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุป​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ดังนี้
1) การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ (Analysis) ใน​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เด็นต่าง​​​​​ ​​​​​​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็​​​​​ ​​​​​สำ​​​​​​​​​หรับวิชาที่จัด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​หลักสูตร​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วิชาที่​​​​​​​​​เลือก​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​นักศึกษา​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​นี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ถึง​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​ด้วย​​​​​​​​​เหตุ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ผล​​​​​ ​​​​​อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร​​​​​ ​​​​​คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ทันสมัยตาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​ก้าวหน้าทางวิชาการที่​​​​​​​​​เปลี่ยนไป
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์งาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​การเรียนการสอน ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​เนื้อหา​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​กิจกรรมต่าง​​​​​ ​​​​​​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา โดย​​​​​​​​​การแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก​​​​​ ​​​​​หัวเรื่องรอง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​ยึดกรอบคำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​หลัก
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​มักทำ​​​​​​​​​ด้วย​​​​​​​​​กระบวนการสั้น​​​​​ ​​​​​​​​​​ ​​​​​เช่น​​​​​ ​​​​​สอบถาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​รู้พื้นฐาน​​​​​ ​​​​​บางครั้งอาจมีการประ​​​​​​​​​เมินผลก่อนเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​โยชน์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การออกแบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​เท่า​​​​​​​​​ไรนัก​​​​​ ​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ที่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​คัญมาก​​​​​ ​​​​​​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนประสบ​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​เร็จทางการเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​เนื่อง​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนจำ​​​​​​​​​นวนมาก​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้องเรียน​​​​​ ​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​อาจออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะสม​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​รายบุคคล​​​​​​​​​ได้​​​​​ ​​​​​จึง​​​​​​​​​ออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะ​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้อง
การวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์ มีการวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​แบ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไปของรายวิชา​​​​​ และ​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละบท​​​​​
2) การออกแบบ (Design) คือ​​​​​ ​​​​​การออกแบบ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบท​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แต่ละสัปดาห์​​​​​ เน้นการพัฒนา​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ครบ​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​ 3 ด้าน​​​​​ ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ด้านสติปัญญา​​​​​ (Cognitive) ด้านทักษะ​​​​​ (Psychomotor) และ​​​​​​​​​ด้านลักษณะนิสัย​​​​​ (Affective) ลำ​​​​​​​​​ดับเนื้อหา​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน ระบุวิธีสอน​​​​​​​​​หรือ
กลยุทธ์
​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการบรรยาย​​​​​ อภิปราย​​​​​ ​​​​​มอบหมายงาน​​​​​ (​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน​​​​​ และ​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนดวิธีการประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ตามแผน​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​นั้น​​​​​ ​​​​​บางครั้งมีข้อจำ​​​​​​​​​กัด​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​เรื่องของเวลา​​​​​ (​​​​​ถ้า​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ชั้นเรียนปกติ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​มีนักศึกษากลุ่ม​​​​​​​​​ใหญ่)
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การนำ​​​​​​​​​สิ่งที่คิด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่การพัฒนา​​​​​​​​​เนื้อหา กรณี​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​พัฒนาตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​เอกสารประกอบการสอนเอง​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการเลือกหนังสือ​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ตำ​​​​​​​​​ราที่มี​​​​​​​​​เนื้อหาสอดคล้อง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​สิ่งที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้การพัฒนาสื่อ​​​​​ ที่​​​​​​​​​สามารถ​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ขณะนี้คือ​​​​​ ​​​​​สไลด์ประกอบการสอน​​​​​ ​​​​​เว็บไซต์​​​​​​​​​แหล่ง​​​​​​​​​ค้น​​​​​​​​​คว้า​​​​​​​​​เพิ่มเติมการประ​​​​​​​​​เมิน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะพัฒนา เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ ผู้​​​​​​​​​สอนมัก​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ค่อย​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก​​​​​ ​​​​​อาจ​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เชี่ยวชาญ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินตรวจสอบ​​​​​ ​​​​​หรือ​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​กระบวนการวิจัยสื่อทำ​​​​​​​​​การหาประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประสิทธิผลของสื่อ
4) การนำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้ (Implementation) คือ​​​​​ ​​​​​ขั้นตอนการนำ​​​​​​​​​แผนการสอนที่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​วิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ ​​​​​ออกแบบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​พัฒนา​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​สอนจริง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​พยายามดำ​​​​​​​​​เนินการตามแผนการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
5) การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ (Evaluation) กระบวนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลการสอน ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ขั้นตอนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลเพื่อ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การตัดสิน​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​ (เพื่อตัดเกรด) คือ​​​​​ ​​​​​การสอบระหว่างเรียน​​​​​ ​​​​​การสอบปลายภาค​​​​​ ​​​​​การตรวจผลงาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​โครงการที่มอบหมาย ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุง​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะ​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การประ​​​​​​​​​เมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียง​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​มีข้อบกพร่อง​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​แก้​​​​​​​​​ไขปรับปรุง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใด​​​​​ แต่กระบวนการดังกล่าว​​​​​ ​​​​​อาจทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ค่อนข้างยาก และ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทุ่มเทเวลา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​อย่างมาก
จาก​​​​​​​​​ประสบการณ์การสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ระบบปกติที่กล่าวมา ผมคิดว่าหลายท่านที่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​อยู่​​​​​ อาจมีกระบวนการคล้าย​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผม​​​​​ คือ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​มีการออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชาที่รับผิดชอบ​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​เครื่องมือที่สำ​​​​​​​​​คัญคือ​​​​​ แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) หรือ​​​​​​​​​แนวการสอน
หลัง​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ศึกษาทฤษฎีระบบการเรียนการสอนแต่ละ​​​​​​​​​แบบที่​​​​​​​​​เสนอเนื้อหา​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์นี้​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​ผมเองคิดว่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​ไปปรับปรุงขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​สมบูรณ์ยิ่งขึ้น​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​กับ​​​​​ ระบบการเรียนการสอนแบบอี​​​​​​​​​เลิร์นนิ่ง ขณะนี้ผมเองกำ​​​​​​​​​ลังทดลอง​​​​​​​​​ใช้​​​​​ Moodle LMS เป็น​​​​​​​​​เครื่องมือ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การบริหารจัดการรายวิชา​​​​​​​​​อยู่​​​​​​​​​ครับ​​​​​ (LearnTech.yru.ac.th)
อีกประ​​​​​​​​​เด็นหนึ่งคือ ​​​​​การพัฒนาระบบการเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​นั้น​​​​​ ​​​​​ผมคิดว่า​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทุ่มเท​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​เหนื่อยมากขึ้นครับ​​​​​ ​​​​​ถ้า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ดีน่า​​​​​​​​​จะ ​​​​​พัฒนาระบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ลักษณะงานวิจัยชั้นเรียน จะ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ระบบการเรียนที่มีประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ผลงานวิจัย​​​​​​​​​ด้วย ซึ่ง​​​​​​​​​ผมเองกำ​​​​​​​​​ลังทำ​​​​​​​​​วิจัยเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ผลสัมฤทธิ์ของการ​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ระบบอี​​​​​​​​​เลิร์นนิ่ง​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การจัดการการเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​สมาชิกท่าน​​​​​​​​​ใด​​​​​​​​​มีประสบการณ์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ด้านนี้​​​​​ ​​​​​ยินดี​​​​​​​​​แลกเปลี่ยนประสบการณ์​​​​​​​​​
การออกแบบเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ
                                ลองวิเคราะห์ตัวอย่าง ๔ ตัวอย่างข้างล่างและดูว่าได้ชี้ให้เห็นประเด็นอะไรในเรื่องหลักสูตรและการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ
                                ตัวอย่างที่ ๑
                                ในการประชุมปฏิบัติการเรื่อง ความเข้าใจ ครูมัธยมศึกษาคนหนึ่ง         ได้จดบันทึกว่า ตอนฉันเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา ฉันมักจะนึกเสมอว่าสมองของฉันไม่ต่างอะไรจากที่พักระหว่างทางสำหรับข้อมูลที่ผ่านจากหูซ้ายออกหูขวา ฉันเป็นคน            จำเก่งมาก จึงได้คะแนนเกียรตินิยม  แต่ก็รู้สึกอายที่จะบอกว่า เพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยสนใจ เรื่องคะแนนมักจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนมากกว่าฉัน
                                ตัวอย่างที่ ๒
                                ทุกฤดูใบไม้ร่วง นักเรียน ป.๓ จะเรียนหน่วยบูรณาการเรื่อง แอปเปิ้ล ทุกคนจะเรียนกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น อ่านนิทานและดูภาพยนตร์เรื่อง Johnny Apple seed ในวิชาภาษาอังกฤษ เขียนเรื่องราวที่สร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบเกี่ยวกับแอปเปิ้ล  เก็บใบไม้จากต้นแอปเปิ้ลข้างโรงเรียนแล้วนำมาปะติดปะต่อเป็นใบไม้ยักษ์ที่ผนัง ร้องเพลงที่เกี่ยวกับแอปเปิ้ล ในชั่วโมงคณิตศาสตร์ ครูจะสอนวิธีคำนวณปริมาณซอสแอปเปิ้ลให้เพียงพอสำหรับนักเรียนในห้องทุกคน  แต่สุดยอด ของกิจกรรมจะอยู่ที่การได้ไปเที่ยวสวนแอปเปิ้ล ดูชาวสวนทำน้ำแอปเปิ้ล และร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง โดยนำผลงานที่ได้เรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ มานำเสนอ
ตัวอย่างที่ ๓
                                ข้อสอบในการประเมินผลระดับชาติสำหรับนักเรียนม.๒ ตั้งโจทย์ว่า
จะต้องใช้รถเมล์กี่คันจึงจะเพียงพอที่จะบรรทุกทหารจำนวน ๑,๑๒๘ คน หากคันหนึ่งบรรทุกได้ ๓๖ คน
                                นักเรียนเกือบ หนึ่งในสาม จะตอบว่า ๓๑ คัน และเหลืออีก ๑๒ คน
                                ตัวอย่างที่ ๔
                                ใกล้จะปิดเทอมแล้ว ครูสอนประวัติศาสตร์รู้สึกเป็นกังวลที่ยังเหลือเนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์โลกอีกมากมาย จึงต้องตัดสินใจเพิ่มความเร็วในการสอนเป็นวันละ ๔๐ หน้า เพื่อให้สามารถครอบคลุมเนื้อหาทันการสอบปลายเทอม และ        ต้องตัดสินใจตัดกิจกรรมที่ดีๆ ออกหลายกิจกรรม เช่น การจำลองสถานการณ์              การอภิปรายที่องค์การสหประชาชาติ
               
                                อ่านแต่ละตัวอย่างแล้ว คงพอทำให้นึกถึงสภาพความเป็นจริงที่เรามักพบเห็นกันเนืองๆ

                                ตัวอย่างที่ ๑ แสดงให้เห็นว่า แม้แต่เด็กที่เรียนเก่งๆยังไม่สามารถพัฒนาความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้งเพียงพอ และข้อสอบที่เน้นการท่องจำเนื้อหา             จากหนังสือเรียนและการสอนของครู ไม่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ          อย่างจริงจัง
                                ตัวอย่างที่ ๒ เกี่ยวกับหน่วยบูรณาการเรื่องแอปเปิ้ล เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของการเน้นกิจกรรมนักเรียนมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานมากมาย แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าการสอนเน้นประเด็นใด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร นักเรียนทราบหรือไม่ว่าเป้าหมายของการเรียนรู้จากกิจกรรมเหล่านี้คืออะไร และมีหลักฐานอะไร ว่าได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรม ที่สำคัญคือ นักเรียนได้พัฒนาความเข้าใจที่ลึกซึ้งและยั่งยืนหรือไม่
                                ตัวอย่างที่ ๓ เรื่องรถบรรทุกสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนคำนวณได้ แต่ขาดความเชื่อมโยงจากโลกแห่งความเป็นจริงจึงตอบ ๓๑ คัน เหลือ ๑๒ คน แทนที่จะตอบ ๓๒ คัน ทั้งนี้เพราะโจทย์ปัญหาส่วนใหญ่แยกส่วนจากบริบท และไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในสภาพความเป็นจริง
                                ตัวอย่างที่ ๔ เป็นปัญหาที่ครูแทบทุกคนเผชิญ และจะยิ่งเป็นปัญหา           ในอนาคตเมื่อ วิทยาการในโลกขยายตัว ถ้าจะเน้นการสอนเพียงเพื่อให้ครอบคลุม             ทุกเรื่องโดยไม่ต้องสนใจความรู้ความเข้าใจที่จะติดตัวไปกับผู้เรียน จะต้องขนานนาม วิธีสอนแบบนี้ว่า Teach, test and hope for the best   หรือ สอน สอบ และ ไปตายเอาดาบหน้า
หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามที่จะศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้
·       ศึกษาหลักสูตร การประเมินผล และการเรียนการสอนที่จะนำไปสู่การพัฒนาความเข้าใจ
·       ศึกษาการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design เพื่อแก้ปัญหาความไม่เชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรและการประเมินผล
·       นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับความเข้าใจใน ๖ ด้าน และความเชื่อมโยงกับหลักสูตร การประเมินผล และการเรียนการสอน
·       นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนที่เน้น             การแสวงหาความรู้ มากกว่าการปูพรมให้ครอบคลุม และมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในแนวคิดหลัก
·       ศึกษาแนวทางประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในระดับต่างๆ
·       คำนึงถึงความเข้าใจผิดของผู้เรียนที่เกิดขึ้นบ่อยๆในการออกแบบหลักสูตร การประเมินผล และการเรียนการสอน
·       นำเสนอรูปแบบในการออกแบบหลักสูตรและการประเมินผลที่เน้นการสร้างความเข้าใจของผู้เรียน
·       นำเสนอมาตรฐานในการออกแบบเพื่อประกันคุณภาพของหลักสูตรและการประเมินผล

นิยามคำศัพท์
หนังสือเล่มนี้ให้คำจำกัดความแก่คำหลักที่ใช้ดังนี้
หลักสูตร  เป็นพิมพ์เขียวเพื่อการเรียนรู้ที่เกิดจากการกำหนดมาตรฐานของเนื้อหาและมาตรฐานความสามารถของผู้เรียน (Content and performance standards) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการเรียนการสอนที่ได้ผล ดังนั้น หลักสูตร            ตามความหมายที่ใช้ในเล่มนี้ จึงไม่ใช่กรอบกว้างๆของหลักสูตร หรือสรุปสาระเนื้อหาแต่เป็นแผนที่ชัดเจนพร้อมหน่วยการเรียนที่กำหนดขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ตลอดจน กิจกรรม และการประเมินผลไปสู่เป้าหมาย (หลักสูตรที่ดีจะต้องเขียนจากมุมมองผู้เรียน และผลที่พึงประสงค์ หลักสูตรจะต้องแจ่มชัดว่าผู้เรียนจะทำอะไร ไม่ใช่เพียงแต่กำหนดว่าผู้สอนจะทำอะไร)

                                การประเมินผล (Assessment) หมายถึงกระบวนการเพื่อการตัดสินว่าได้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรหรือไม่ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายทั้งการสังเกต การพูดคุย การลงมือปฏิบัติ จนถึงการทดสอบ
                                เป้าหมายการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดว่านักเรียนควรทำอะไรได้          ในระดับใด จึงผ่านเกณฑ์การประเมินว่าได้เกิดความเข้าใจ มาตรฐานเนื้อหาจะ            กำหนดว่าควรสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระใดบ้าง แต่มาตรฐานความรู้ความสามารถจะกำหนดว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้ และต้องทำดีในระดับใดจึงถือว่าผ่านเกณฑ์
                                ความเข้าใจ ซึ่งเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ หมายความว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้มากกว่าความรู้ที่บรรจุในหนังสือเรียน หรือทักษะพื้นฐาน แต่ต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (insights) และมีความสามารถที่แสดงออกในผลงานและภายในบริบทต่างๆ                        หนังสือเล่มนี้ จะนำเสนอความเข้าใจในด้านต่างๆ จะแสดงให้เห็นว่า             การมีความรู้และทักษะไม่ได้ส่งผลให้เกิดความเข้าใจโดยอัตโนมัติ  ทั้งจะชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจผิดๆ ของผู้เรียนเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าที่เราคาดคิด และการประเมิน          ความเข้าใจไม่อาจกระทำได้โดยผ่านการทดสอบแบบดั้งเดิม

การออกแบบแบบย้อนกลับ  Backward Design
                                ครูทุกคนเป็นนักออกแบบ ภารกิจหลักในวิชาชีพครู คือ การออกแบบหลักสูตร ประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ออกแบบเครื่องมือประเมินความต้องการ และเครื่องมือประเมินผลว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
                                ครูจำนวนไม่น้อยวางแผนการเรียนการสอนด้วยการเลือกหนังสือเรียน แผนการสอน และกิจกรรมที่ถูกใจ แทนที่จะออกแบบเครื่องมือเหล่านี้จากเป้าหมายการเรียนรู้และมาตรฐานที่กำหนดไว้ หนังสือเล่มนี้จึงเสนอกระบวนการออกแบบ           การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ โดยเริ่มจากเป้าหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์  จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน ทั้งจะไม่รอจนออกแบบการเรียนการสอน              แล้วเสร็จจึงออกแบบการประเมินผล  แต่จะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะต้องมีหลักฐานอะไร จึงจะถือว่าผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ ต่อเมื่อมีความชัดเจนในเรื่องเป้าหมาย และหลักฐานจึงออกแบบการเรียนการสอน  วิธีการนี้จึงจะช่วยให้ผู้สอนมีความชัดเจน           ในเรื่องเป้าหมาย และมีความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและเป้าหมายที่พึงประสงค์

                โดยสรุปการออกแบบแบบย้อนกลับจะมี ๓ ขั้นตอนดังนี้
                                ขั้นตอนที่ ๑          การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
                                ขั้นตอนที่ ๒         การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมาย ที่พึงประสงค์
                                ขั้นตอนที่ ๓         การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน


ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
                                ในการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียน            ควรรู้อะไร ควรมีความเข้าใจในเรื่องใด และควรทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ ควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง
                                ในการพิจารณาลำดับความสำคัญ หนังสือได้เสนอเกณฑ์เพื่อกลั่นกรอง ๔ ประการ ได้แก่
๑.       แนวคิด หัวข้อ หรือ กระบวนการนั้น เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่  ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็นเรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน และต้องเป็นเสมือนดุมล้อที่ยึดวงล้อไว้ เช่น การเรียนเรื่อง Magna Charter ข้อตกลงที่เป็นต้นแบบของการตรากฎหมาย ประเด็นหลักที่ผู้เรียนต้องเข้าใจคือกระบวนการกฎหมายที่จำกัดอำนาจของรัฐและประกันสิทธิของบุคคล  หากไม่เข้าใจในหัวข้อของเรื่องนี้ ไม่ว่าจะจดจำรายละเอียดว่าเนื้อความเป็นอย่างไร ใครลงนามกับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ตรงประเด็น
๒.     แนวคิด หัวข้อ กระบวนการนั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ ผู้เรียนควรมีโอกาสผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้นๆเพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆเกิดขึ้นได้อย่างไร ลองนึกถึงภาพว่าผู้ประกอบวิชาชีพในศาสตร์นั้นต้องทำอะไรบ้าง เช่น ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เขียนรายงานเพื่อรายงานต่อกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อค้นพบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยใช้หลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ การเรียนรู้ในสภาพจริงจะช่วยให้ผู้เรียนปรับ สถานภาพจากผู้เรียนที่รอรับความรู้ไปสู่ผู้เรียนที่มีส่วนในการสร้างความรู้
๓.      แนวคิด หัวข้อ และกระบวนการนั้นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพียงใด  มีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่ผู้เรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ที่ผู้เรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
๔.      แนวคิด หัวข้อ กระบวนการใดที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีหลายหัวข้อ หลายกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น ประตูไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า  หากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่ผู้เรียนสนใจ จะช่วยทำให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป

ขั้นตอนที่ ๒  การกำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับได้
วิธีการ Backward Design กำหนดให้ครูคิดเหมือนนักประเมินผลครูจะเริ่มการวางแผนการเรียนรู้ด้วยการคิดถึงหลักฐานที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง
เครื่องมือเหล่านี้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการเรียนรู้ที่จะประเมิน




 

ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผน การเรียนการสอน
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการเรียนการสอนได้ โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
๑.      ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒.    กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
๓.     สื่อการสอนอะไรจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
๔.     การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่

               
ความเข้าใจใน ๖ ด้าน
                                เพื่อความชัดเจนว่า ความเข้าใจที่เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้คืออะไรหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอว่าเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะสามารถทำสิ่งดังต่อไปนี้
๑.      Can explain สามารถอธิบายแนวคิด เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายเหตุผลและวิธีการ (Why and How)  ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่              ก้าวเกินคำตอบเพียงผิด หรือถูก
๒.    Can interpret สามารถแปลความให้เกิดความหมายที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง และผลกระทบที่อาจมี                 ต่อผู้เกี่ยวข้อง                   
๓.     Can apply สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ต่างไปจากที่เรียนรู้มา 
๔.     Have perspective สามารถมองข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย
๕.     Can empathize มีความละเอียดอ่อนที่จะซึมซับ รับทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง
๖.       Have self-knowledge รู้จักตนเอง ตระหนักถึงจุดอ่อน วิธีคิด วิถีปฏิบัติ ค่านิยม อคติ ของตนเอง ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และความเข้าใจ               ของตนเอง
หนังสือเล่มนี้ให้รายละเอียดในการประเมินความเข้าใจแต่ละด้าน ซึ่งจะมีระดับความลุ่มลึกต่างกัน โดยได้เสนอเกณฑ์หรือ Rubric ในการประเมินอย่างชัดเจน หากสนใจขอให้ติดตามหาอ่านเพิ่มเติม แต่ครั้งต่อไปจะนำเสนอว่า จากความเข้าใจ         ทั้ง ๖ ด้าน จะนำไปสู่การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อย่างไร
.การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ
.....ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ความหมายของระบบ
.....มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971) บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
.....1. องค์ประกอบ
.....2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
.....3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

ลักษณะของระบบที่ดี
.....ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
.....1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
.....2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
.....3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
.....4. มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)

มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
.....ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้ เรียกว่า สิ่งแวดล้อมการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต (outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง

.....จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นได้ว่าระบบมีการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ (สิ่งนำเข้าและผลผลิต) กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเสมอต้นเสมอปลาย ในเรื่องสิ่งแวดล้อมของระบบนี้จะกล่าวถึงอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งในบทต่อไป

มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์
.....ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ดีที่สุดจุดมุ่งหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง ลองดูตัวอย่างอีกตัวอย่าง คือ ระบบของรถยนต์โดยสารส่วนตัว ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ เป็นยานพาหนะที่อำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์ในเรื่องของความรวดเร็ว การทุ่นแรง

สามารถรักษาสภาพตัวเองได้
.....ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวมันเองให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงอยู่เสมอ การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและอาท์พุทกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ หรือระบบย่อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ หรือระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ฯลฯ 

...จากภาพที่ 2 ซึ่งแสดงระบบการย่อยอาหารของคน ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ (ระบบย่อย) หลายองค์ประกอบด้วยกัน การที่ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ดี และรักษาสภาพการย่อยอาหารให้ทำงานได้สมบูรณ์ตลอดไปนั้น องค์ประกอบต่าง ๆ ต้องทำงานตามหน้าที่ของมัน และต้องทำงานให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย เฉพาะการทำงานของปาก ลิ้น และฟันจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างดี ในขณะเคี้ยวอาหาร การที่ฟันไม่เคี้ยวลิ้นในขณะเคี้ยวอาหารนั้นก็เกิดจาการทำงานประสานอย่างดีนั่นเอง
การปรับและแก้ไขตนเอง
.....ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง (Self – regulation) ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างกายก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด
.....ในขณะที่ระบบสร้างผลผลิต (Output) ส่งออกไปสู่สิ่งแวดล้อม (environment) นั้นระบบก็จะนำเอาผลผลิตส่วนหนึ่งมาตรวจสอบโดยการป้อนเข้าที่ส่วนนำเข้า (input) ใหม่ ลักษณะนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feed back)

.....การรักษาสภาพตัวเอง และการแก้ไขปรับแต่งตนเองนี้ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของระบบ เพราะจำทำให้ระบบมีลักษณะเป็นวงจรไม่ใช่เส้นตรง
ระบบเปิดและระบบปิด
.....มองไปรอบ ๆ ตัวเราแล้วจะเห็นว่าประกอบไปด้วยระบบต่างๆ มากมายทั้งที่เป็นระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบสุริยะจักรวาล ระบบลมบกลมทะเล ระบบหมุนเวียนโลหิต หรือระบบที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมา เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบการเงิน ระบบการธนาคาร ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ ฯลฯ ระบบต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานี้สามารถที่จำแนกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ ระบบเปิด (open system) และระบบปิด (closed system)
....ระบบเปิด คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า (Input) จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต (output) กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง (Carlisle, 1976) ตัวอย่างระบบเปิดนั้นจะหาดูได้ทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบการสูบฉีดโลหิต ระบบหายใจ ฯลฯ
....ระบบปิด คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิตเอาท์พุดให้กับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ตัวอย่างระบบปิดที่เห็นง่ายๆ ก็คือ ระบบถ่านไฟฉาย หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีพลังงานไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว ภายในแบตเตอรี่หรือถ่านฉายก็มีองค์ประกอบย่อย ๆ ที่เรียกว่า ระบบย่อยอีกหลายระบบ ระบบย่อยแต่ละอย่างนี้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี จนสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยนำเข้าใหม่เข้าไปเลย การทำงานในลักษณะหรือสภาวะเช่นนี้ เบตเตอรี่จะมีลักษณะเป็นระบบปิด คือไม่ได้รับพลังงานจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเลย ระบบปิดนี้ปกติจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น ผู้ให้เท่านั้น ในตัวอย่างแบตเตอรี่นั้น ถ้าเขาใช้ไฟไปนานๆ แบตเตอรี่ก็จะหมดไฟ และระบบแบตเตอรี่ดังกล่าวก็จะหมดสภาพไป ถ้าจะทำให้แบตเตอรี่สามารถทำงานได้นานขึ้น ก็ต้องทำให้การทำงานของแบตเตอรี่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นระบบเปิดขึ้นมา คือสามารถรับพลังงานจากภายนอกได้ พอเป็นระบบเปิดแล้วแบตเตอรี่ดังกล่าวก็สามารถที่จะมีสภาพหรือมีอายุนานขึ้น
.....ระบบที่จะกล่าวถึงในที่นี้จะจำกัดอยู่แต่ระบบเปิด (Open system) เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากระบบเปิดคือระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้งาน เราสามารถวิเคราะห์ สามารถสร้างและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมันได อีกทั้งเป็นระบบที่มีความยีนยงอีกด้วย

ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีระบบ
.....เรื่องของวิธีระบบ (System approach) นั้น ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริง ๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีก

วิธีระบบ (System approach)
.....วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด (Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)
.....ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะเป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์
.....ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า ระบบประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของระบบย่อยแต่ละระบบ

จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน
....แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
.....วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design)
.....การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษา
.....จนถึงปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด
....ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ว่าจะใช้กับจุดมุ่งหมายในการสอนลักษณะใด ผู้เรียนที่แตกต่างกันเพียงไร สถานการณ์สิ่งแวดล้อมหรือสื่อการสอนที่แตกต่างกันออกไป
.....รูปแบบอันหลากหลายนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ความแตกต่างนั้นมีไม่มากนัก รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของการเรียนการสอนโดยตรง เช่น สามารถนำไปใช้ในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้ในโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคารหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการให้ความรู้ การเปลี่ยนทัศนคติ หรือการฝึกทักษะต่าง ๆ

การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่
.....กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่ แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน (step) ต่าง ๆ ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง ทำไมจึงใช้คำว่า ออกแบบการเรียนการสอนคำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model) ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model) ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
.....จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ ทำให้ทราบความเป็นมาของระบบการสอนรวมถึงคำว่า ระบบว่าเป็นอย่างไร และปรับเปลี่ยนดัดแปลงการออกแบบการเรียนการสอนด้วยเหตุใด ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเริ่มจากความเป็นมา ความหมาย ระดับของการออกแบ องค์ประกอบ รูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน และสุดท้ายคือ กระบวนการขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน

ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
.....การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
.....ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม

ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
.....การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ (Richey, 1986)

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
....เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
.....1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
.....2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
.....3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
.....4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
.....5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)

ปัญหาด้านทิศทาง
.....ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
ปัญหาด้านการวัดผล
.....ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ
ปัญหาด้านเนื้อหา และการลำดับเนื้อหา
.....ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ
.....ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆ
.....สถาบันต่าง ๆ หมายถึง แหล่งที่เป็นความรู้ แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
.....ดังได้กล่าวข้างต้นว่า การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)
เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)

รูปแบบดั้งเดิม (Generic model)
.....1. การวิเคราะห์ (Analysis)
.....2. การออกแบบ (Design)
.....3. การพัฒนา (Development)
.....4. การนำไปใช้ (Implementation)
.....5. การประเมินผล (Evaluation)
.....จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตามความเชื่อความต้องการของตน

รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน
....ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นองค์ประกอบ รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ

รูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์ (Dick and Carey model)
.....รูปแบบการสอน (Model) ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
.........1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goals)
.........2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)
.........3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify Entry Behaviors, Characteristics)
.........4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective)
.........5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion - Referenced Test Items)
.........6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop Instructional Strategies)
.........7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials)
.........8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)
.........9. การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)
.........10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design and Conduct Summative E valuation)

........ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger lach and Ely Model) เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 อย่างด้วยกันคือ
............1. การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
............2. การกำหนดเนื้อหา (Specify Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
............3. การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze Learner Background Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
............4. เลือกวิธีสอน (Select Teaching Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
............5. กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
............6. กำหนดเวลา (Time Allocation) กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
............7. กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify Setting and Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
............8. เลือกแหล่งวิชาการ (Select Learning Resources) ต้องใช้สื่ออะไร อย่างไร
............9. ประเมินผล (Evaluation) ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
............10. วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze Feedback for Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไร

....จากตัวอย่างรูปแบบระบบการสอนที่ยกมาจะเห็นว่าจะอยู่ในกรอบของรูปแบบดังเดิม (Generic model) ทั้งสิ้น

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
.....การวิเคราะห์ระบบ คือ กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ (Semprevivo , 1982)
.....ในการออกแบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนของใครก็ตาม จะมีกลไกหรือมี ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบอยู่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวคือ ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่าง ๆ การที่ระบบการสอนมีองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ต่าง ๆ อย่างชัดเจน จะช่วยให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ว่าปัญหาระบบเกิดจากอะไร
.....การดำเนินการวิเคราะห์ระบบในรูปแบบ (Model) การสอนต่าง ๆ นั้นทำได้ง่ายเพราะมีผู้จัดสร้างกลไกและจัดหาข้อมูลเตรียมไว้ให้แล้ว แต่ถ้าจะดำเนินการวิเคราะห์ระบบอื่นใดที่นอกเหนือไปจากนี้แล้วกระบวนการคิดวิเคราะห์ก็จะต้องมีรายละเอียดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ระบบสำหรับระบบโดยทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ระบบการเรียนการสอน ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวงจรชีวิต (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
............1. การกำหนดปัญหา (Problem definition)
............2. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and analysis)
............3. การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ (Analysis of system alternatives)
............4. ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก (Determination 0f feasibility)
............5. การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development 0f the systems proposal)
............6. การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ (Pilot of prototype systems development)
............7. การออกแบบระบบ (System design)
............8. การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
............9. การนำระบบใหม่เข้าไปใช้ (System implementation)
............10. การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems implementation)

.....กิจกรรมทั้ง 10 นี้ ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้
เพราะในลักษณะการทำงานจริง กิจกรรมเหล่านี้จะมี่ความเกี่ยวโยงกันจนแยกไม่ออก ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการวิเคราะห์ระบบทั้ง 10 นี้ ข้อที่กล่าวมาข้างต้นใช้สำหรับการ วิเคราะห์ระบบที่นอกเหนือจากระบบการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเรียนการสอนนั้นได้สร้างกลไกและข้อมูลสำหรับตรวจสอบแก้ไขระบบอยู่ในตัวแล้ว วิธีการเชิงระบบในการออกแบบการเรียนการสอน โดย ผศ.ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี
.....ในการดำเนินภารกิจการสอน ครูจะต้องมีการวางแผนจัดการเรียนรู้และตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้นั้นๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์คือการที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดระบบการเรียนการสอนคือกระบวนการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอนว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และถ้าหากมีปัญหาหรือความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด การเรียนการสอนจึงมีการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
..........1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
..........2. เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น
ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม
.องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการเรียนการสอน ซึ่งขาดไม่ได้มี 4 ประการ (กิดานันท์ มลิทอง, 2540) คือ
..........1. ผู้เรียน ต้องมีการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบกิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
..........2. วัตถุประสงค์ ต้องมีการตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
..........3. วิธีการและกิจกรรม ต้องมีการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้
..........4. การประเมิน ต้องมีการกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่

.....เมื่อการออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional system design) เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการว่าเป็นการพัฒนาการเรียนการสอน รูปแบบสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design model) ที่เป็นพื้นฐานทั่วไปคือ ADDIE ซึ่งมาจากอักษรตัวแรกของขั้นตอนในการออกแบบ คือ A-analyze การวิเคราะห์ความจำเป็นหรือปัญหาอุปสรรค ตัดสินใจว่าจะต้องเรียนรู้เรื่องอะไร D-design การกำหนดว่าจะเรียนรู้อย่างไร ระบุกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เลือกวิธีการและสื่อ D-develop การสร้างและผลิตเครื่องมือต่างๆ ตรวจสอบและปรับปรุง I-implement การนำแผนหรือโครงการไปปฏิบัติ E-evaluate การพิจารณาความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประเมินทุกอย่างที่ผ่านมา ปรับปรุงเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป (Braxton, Bronico, & Looms, 2000; Malachowski, 2002) อย่างไรก็ตาม มีนักการศึกษาหลายท่าน คิดรูปแบบ/แบบจำลองระบบการสอนขึ้นมาอย่างหลากหลาย เพื่อให้สามารถเลือกใช้เป็นแนวปฏิบัติในการออกแบบการเรียนการสอน การจัดเรียนการสอน หรือการแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นได้ตามความต้องการของผู้ใช้ รูปแบบที่มีการอ้างถึงอย่างแพร่หลาย มีดังนี้คือ
.....Klausmeir (1971)ออกแบบวิธีระบบสำหรับจัดการเรียนการสอนให้มี 7 องค์ประกอบ
.........1) กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
.........2) เตรียมความพร้อมของนักเรียน
.........3) จัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
.........4) จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
.........5) ดำเนินการสอน
.........6) วัดสัมฤทธิ์ผลของนักเรียน
.........7) การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน

.....Gerlach & Ely (1980) ออกแบบวิธีระบบสำหรับจัดการเรียนการสอน 10 ขั้นตอน ซึ่งได้รับการอ้างถึงในวงการศึกษาไทยอย่างแพร่หลาย ประกอบด้วย
.....1) การกำหนดวัตถุประสงค์ โดยควรจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนสามารถวัดหรือสังเกตได้
.....2) การกำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
.....3) การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียนก่อนการเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
.....4) การกำหนดกลยุทธ์ของวิธีการสอน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด และการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
.....5) การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน เหมาะสมกับวิธีสอน
.....6) การกำหนดเวลาเรียน
.....7) การจัดสถานที่เรียน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ขนาด คือ ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50-300 คน ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย และห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพังแบบรายบุคคล
.....8) การเลือกสรรทรัพยากรหรือสื่อการสอน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ สื่อบุคคลและของจริง สื่อวัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย สื่อวัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวัสดุที่ใช้แสดงต่างๆ
.....9) การประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน
.....10) การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพิจารณาว่าการดำเนินงานตั้งแต่ต้นมานั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในระบบ หรือมีปัญหาประการใดบ้าง สำหรับเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบ การสอนให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

.....Brown, Lewis & Harcleroad (1985) ออกแบบวิธีที่จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน โดยการพิจารณาถึงแนวทางและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อที่ผู้สอนจะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน โดยแบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ คือ
.....1) เป้าหมาย
.....2) วัตถุประสงค์และเนื้อหา
.....3) สภาพการณ์
.....4) ผลลัพธ์

.....Knirk & Gustafson(1986) ออกแบบวิธีระบบสำหรับจัดการสอนให้มี 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนมีองค์ประกอบย่อยที่ดำเนินงานสัมพันธ์กัน คือ
.....1) การกำหนดปัญหา ประกอบด้วย เป้าหมายการเรียนการสอน
.........- ระบุปัญหา
.........- ระดับทักษะแรกเริ่มของผู้เรียน
.........- การจัดระบบ
.....2) การ ออกแบบ ประกอบด้วย พัฒนาวัตถุประสงค์
.........- กำหนดกลยุทธ์
.........- กำหนดสื่อ
.....3) การพัฒนา ประกอบด้วย เลือกวัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนา
.........- วิเคราะห์ผลลัพธ์
.........- ทบทวนอุปกรณ์เครื่องมือ
.........- นำไปใช้

.....Hannafin & Peck (1988) ออกแบบวิธีระบบที่มีองค์ประกอบในการดำเนินงาน 3 ระยะคือ
.....1) การหาความจำเป็น
.....2) การออกแบบ
.....3) การพัฒนาและนำไปใช้ ทั้งนี้ทุกระยะ จะต้องมีการประเมินและปรับปรุง

.....Tripp & Bichelmeyer(1990) เสนอรูปแบบที่เรียกว่าการสร้างต้นแบบฉับพลัน (rapid prototyping) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้น คือ
.....1) การหาความจำเป็น วิเคราะห์เนื้อหา และกำหนดวัตถุประสงค์
.....2) การสร้างต้นแบบหรือการออกแบบ
.....3) การนำต้นแบบไปใช้หรือการทำวิจัย
.....4) การวางระบบและดูแลรักษาระบบ สำหรับรูปแบบนี้เหมาะสำหรับนักออกแบบการเรียนการสอนที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เดิมมากจึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีคำว่าฉับพลันในชื่อของรูปแบบ แต่การดำเนินงานตามรูปแบบนี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก เพราะเป็นรูปแบบขั้นสูงที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คือนักออกแบบที่ต้องทำวิจัย

.....Gagné, Briggs, & Wager(1992). เสนอรูปแบบสำหรับออกแบบการเรียนการสอนที่เรียกชื่อว่า Gagné & Briggs model ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในวงการศึกษาไทยมานานกว่า 30 ปี (Gagné & Briggs, 1974) รูปแบบนี้จะใช้หลังจากมีการจัดประเภทของผลลัพธ์การเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว โดยประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ สำหรับการจัดระบบสภาพการณ์การเรียนการสอนของแต่ละผลลัพธ์ การเรียนรู้ ซึ่งมีการดำเนินงาน 9 ขั้นคือ
.....1) สร้างความสนใจ
.....2) ฟื้นฟูข้อมูลที่มีอยู่เดิม
.....3) บอก วัตถุประสงค์แก่ผู้เรียน
.....4) นำเสนอวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งเร้า
.....5) แนะแนวทางการเรียนรู้
.....6) ให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ
.....7) ให้ข้อมูลย้อนกลับ
.....8) ประเมินการปฏิบัติของผู้เรียน
.....9) เพิ่มความคงทนในการเรียนรู้

.....Kemp, Morrison, & Ross(1994) นำเสนอวิธีระบบในจัดการเรียนการสอนที่ Kemp (1985) ได้ออกแบบไว้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 9 ขั้นตอนคือ
.....1) กำหนดหัวข้อที่จะสอน และเขียนวัตถุประสงค์ทั่วไป
.....2) ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน
.....3) ระบุจุดมุ่งหมายของการสอนในเชิงพฤติกรรม
.....4) กำหนดเนื้อหาวิชาที่สนับสนุนวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
.....5) ทดสอบเพื่อวัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนก่อนที่จะทำการสอน
.....6) เลือกกิจกรรมและแหล่งวิชาการสำหรับการเรียนการสอนเพื่อจะนำเนื้อหาวิชาไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางที่วางไว้
.....7) ประสานงานในเรื่องต่างๆ เช่น การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดไว้
.....8) ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
.....9) พิจารณาดูว่าควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงแผนการเรียนการสอนให้ดีขึ้นอย่างไร

.....Glasser (1998) ออกแบบวิธีระบบสำหรับจัดการเรียนการสอนให้มี 5 ขั้นตอนคือ
.....1) จุดประสงค์ของการสอน
.....2) การประเมินสถานะของผู้เรียน
.....3) การจัดกระบวนการเรียนการสอน
.....4). การประเมินผลการเรียนการสอน
.....5) ข้อมูลย้อนกลับไปยังแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมา

.....Dick, Carey, & Carey(2001) เสนอรูปแบบสำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่รู้จักกันในชื่อว่า Dick & Carey model มี 10 ขั้นตอนคือ
.....1) ระบุเป้าหมายของการเรียนการสอน
.....2) วิเคราะห์การเรียนการสอน
.....3) ระบุพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน
.....4) เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
.....5) พัฒนาแบบการทดสอบอิงเกณฑ์
.....6) พัฒนากลยุทธ์ในการเรียนการสอน
.....7) พัฒนาและเลือกสื่อการเรียนการสอน
.....8) พัฒนาและดำเนินการประเมินผลระหว่างการเรียนการสอน
.....9) พัฒนาและประเมินหลังการเรียนการสอน
.....10) ทบทวนการจัดการเรียนการสอน โดย ขั้นตอนนี้จะกระทำเป็นระยะๆ ในแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมา

.....ทิศนา แขมมณี (2545) เสนอรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาตามลำดับขั้น 5 ส่วน คือ
.....1) หลักสูตร ปัญหาความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน
.....2) เนื้อหา มโนทัศน์ วัตถุประสงค์
.....3) ยุทธศาสตร์/ยุทธวิธีในการสอน
.....4) กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อ
.....5) การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

.....ทั้งนี้ ตั้งแต่ส่วนที่ 2 เป็นต้นมา จะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและข้อจำกัดด้านต่างๆ อาทิ ผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน สถานที่ สื่อ งบประมาณ สิ่งแวดล้อม ชุมชน ผู้ปกครอง ฯลฯ นอกจากนั้น ยังได้นำเสนอรูปแบบการสอน CIPPA ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ด้วย ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ
.....1. C-construction การสร้างความรู้ของผู้เรียน
.....2. I-interaction กิจกรรมที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์
.....3. P-physical participation การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย
.....4. P-process learning การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ
.....5. A-application การนำความรู้ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้

.....จากการศึกษารายละเอียดของรูปแบบการออกแบบระบบการเรียนการสอนของนักวิชาการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ผู้เขียนสามารถสังเคราะห์องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนที่มีการดำเนินงานสัมพันธ์กันเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ดังนี้คือ
.....1) ความจำเป็นหรือความต้องการในการจัดการเรียนการสอน
.....2) ผู้เรียน
.....3) สภาพแวดล้อม
.....4) ผู้สอน
.....5) จุดมุ่งหมาย
.....6) วิธีการสอน
.....7) เนื้อหา
.....8) แผนการจัดการเรียนการสอน
.....9) เวลาเรียน
.....10) วิธีการเรียนหรือกิจกรรมการเรียน
.....11) ทรัพยากรในการเรียนการสอน
.....12) การควบคุม ตรวจสอบและประเมินผล
.....13) ข้อมูลย้อนกลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น