ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นาย กล้าณรงค์ วงศ์ษาโรจน์ ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา PC 54505 ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดและเพิ่มเติมเนื่อหาตัวเองเพื่อการศึกษาได้>
Powered By Blogger

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

    การสื่อสารกับการเรียนการสอน
 การสื่อสารกับการเรียนการสอน วิธีสอนและกิจกรรม เนื้อหา ระยะเวลา ทดสอบก่อนเรียน ผู้เรียน ทดสอบหลังเรียน จุดมุ่งหมาย สถานที่/สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย 2. การทดสอบก่อนการเรียน (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้ 3. ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ 4. การทดสอบหลังการเรียน (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล 4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่าง ๆ แล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอด และวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อสารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อและช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดี ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรู้ในทางนิเทศศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และการปฏิบัติงานทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดยทางอ้อม อาทิ การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยาและสังคมวิทยา) การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์) เราอาจแยกแยะให้เห็นความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสารแนวต่าง ๆ ได้ดังนี้
ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
 • ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
                      ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร
 • ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
 • ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
              ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory) ใช้เป็นหลักในการบริหารและปฏิบัติงานสื่อสารทุกประเภทในสาขานิเทศศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการสื่อสารมวลชน การสื่อสารพัฒนาการ การสื่อสารการเมืองหรือการสื่อสารธุรกิจ ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาอารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งการพัฒนาพฤติกรรม อาทิ การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ความเพลิดเพลิน ความบันเทิงหรือจิตบำบัด นอกจากนั้นยังจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม วิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ จัดว่าเป็นการรวมทฤษฎีแนวปฏิบัติไว้ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาทั้งในเชิงองค์รวมและเชิงแยกส่วน... เชิงองค์รวมอยู่ในวิชาแกนบังคับร่วมเชิงแยกส่วนอยู่ในวิชาเอกบังคับสาขาต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร
 • ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
 • ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
 • ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory) ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และวิพากษ์วิจารณ์การสื่อสารภายในองค์กร การสื่อสารสาธารณะ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารระหว่างประเทศ หรือการสื่อสารของโลก สามารถใช้เป็นพื้นฐานความคิดของการสร้างสมมติฐานในงานวิจัย และการแสวงหาแนวหรือประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์สื่อหรือการสื่อสารโดยนักวิชาการ หรือนักวิจารณ์สื่อ (media critics) การศึกษาทฤษฎีแนววิพากษ์ ควรอยู่ในวิชาปีสูงของระดับปริญญาตรี หรือในวิชาส่วนใหญ่ของระดับปริญญาโท ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory) ใช้เป็นหลักในการแสวงหา (searching) หรือพิสูจน์ (proving) ข้อเท็จจริง หรือสัจจะ ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานหลักเพื่อการพัฒนาการบริหารหรือการปฏิบัติงานการสื่อสารทุกประเภท รวมทั้งใช้เป็นหลักในการปรับปรุงวิพากษ์วิจารณ์สื่อ หรือการสื่อสารให้มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรค์ ปรัชญาในที่นี้มิได้หมายถึงวิชาปรัชญาทั่วไป (general philosophy) แต่หมายถึงแนวคิดลึกซึ้งและกว้างขวางบนพื้นฐานการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสมมติฐานของการวิจัย และการอ้างอิงในการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์เปิดโอกาสให้เพิ่มขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ แนวดิ่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าลึกซึ้งในความหมายปรัชญา วัตถุประสงค์บทบาทหน้าที่ สิทธิเสรีภาพ และความรับผิดชอบของการสื่อสารประเภทต่าง ๆ แนวราบ ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างนิเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ อาทิ จิตวิทยา สังคมวิทยา สังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) พิภพศาสตร์ (Earth sciences) นอกจากนั้น ยังอาจนำไปสู่การปฏิรูปหรือการปฏิวัติวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์ ให้มีคุณประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อชีวิตและโลก ก่อให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุนในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในประเทศต่าง ๆ และในโลกมนุษย์โดยรวม
ทฤษฎีไซเบอร์เนติกส์ของนอร์เบิร์ต วีเนอร์ และทฤษฎีสารเวลาขาองสมควร กวียะ (เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545) เป็นตัวอย่างของทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปบูรณาการกับศาสตร์ทุกแขนงทั้งในทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ส่วนทฤษฎีปทัสถานซึ่งเริ่มต้นโดยวิลเบอร์ชรามม์แสดงให้เห็นถึงการศึกษาเจาะลึกลงไปในบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของสื่อในปริบทของประเทศต่าง ๆ ที่มีปทัสถานทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ เสรีนิยม อำนาจนิยม เบ็ดเสร็จนิยม และทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารทุกแนวและทุกระดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษา ทางนิเทศศาสตร์ที่จำเป็นต่อการทำงานและการวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสาร เช่นเดียวกับทฤษฎีในศาสตร์ทุกแขนง ทฤษฎีการสื่อสารมีประโยชน์ต่อชีวิต องค์กร สังคม และโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การศึกษาหรือการทำงานที่ปราศจากหลักการหรือทฤษฎี ย่อมเปรียบเสมือนการแล่นเรือออกไปสู่จุดหมายปลายทางอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร โดยปราศจากความรู้ทางภูมิศาสตร์ อุตุนิยม ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นอกจากจะขาดประสิทธิผล (คือแล่นเรือไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง) หรือขาดประสิทธิภาพ (คือแล่นเรือไปถึงช้ากว่ากำหนด) แล้วยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหาที่สำคัญสองประการคือ ความเสียหายจากภัยอันตราย (เช่น เรือเกยหินโสโครกหรือเรือแตกเพราะพายุ) และความเสียหายจากการพลาดโอกาส (เช่น ท้องเรือว่าง ยังบรรทุกสินค้าบางประเภทได้อีก แต่ไม่รู้ไม่สนใจความต้องการ ของตลาด) ในทางนิเทศศาสตร์ ความเสียหายจากภัยอันตราย (risk cost) เห็นได้ชัดจากการสื่อสารโดยไม่รู้กฎหมายหรือจริยธรรมและการสื่อสารโดยไม่รู้หลักจิตวิทยา ความเสียหายจากการพลาดโอกาส (opportunity cost) อาจได้แก่ การบริหารสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์โดยขาดความรู้หรือไม่คำนึงถึงศักยภาพของเครื่องส่งหรือของบุคลากร การไม่ถือโอกาสสื่อสารทำความเข้าใจเมื่อเราได้พบบุคคลที่มีปัญหาขัดแย้งกับเรา ทั้งนี้เพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมของนิวคอมบ์ ซึ่งบอกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นโอกาสสำคัญของการประนีประนอมความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความเสียหายอันเกิดจากการพลาดโอกาสในทางนิเทศศาสตร์ อาจมีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การมิได้รายงานหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสภาพอากาศให้ชาวประมงทราบ อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อชีวิตและเรือประมง ดังเช่น กรณีพายุที่ขึ้นฝั่งภาคใต้ของไทย หลายครั้ง การมิได้สื่อสารสร้างความอบอุ่นในครอบครัว อาจนำไปสู่การติดยาของลูกหลาน หรือแม้แต่การฆ่าตัวตายตามทฤษฏีของเอมิลดูรแกง (Émile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้เขียน “Le Suicide” (การฆ่าตัวตาย) ในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งได้เสนอว่าสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการฆ่าตัวตาย คือความวิปริตผิดปกติ (anomaly) ที่มิได้มีการระบายถ่ายเทด้วยการสื่อสารกับบุคคลอื่น
วิวัฒนาการของทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น ทฤษฎีการสื่อสารยุคกลาง
 • ทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน ยุคก่อนทฤษฎีการสื่อสาร ยุคก่อนทฤษฎี (pre-theoritical period) อาจย้อนหลังไปหลายล้านปี เมื่อสัตว์ประเภทหนึ่งได้มีวิวัฒนาการมาสู่ความเป็นมนุษย์นับกลับมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิวัฒนาการสามพันห้าร้อยล้านปีของสมองชีวิต (brain of life) ได้สร้างเสริมให้สมองของมนุษย์มีสมรรถนะหลายพันล้านเท่าของสมองแบคทีเรีย และนี่เองที่ทำให้มนุษย์วานรได้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ผู้ชำนาญในการใช้มือ (homo habills) มนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) มนุษย์ผู้ฉลาด (homo sapiens) และมนุษย์ผู้ฉลาดแสนฉลาด (homo sapiens sapiens) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตลอดช่วงระยะเวลาของวิวัฒนาการสมองได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร 2 ระบบ คือ (1) การสื่อสารภายในร่างกาย และ (2) การสื่อสารระหว่างร่างกายกับภายนอก ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ (species) เดียวกัน และกับสิ่งภายนอกที่รับรู้ได้โดยอาศัยช่องทางหรือประสาทการสื่อสาร 1. การสื่อสารภายในร่างกายเป็นไปทั้งโดยมีจิตสำนึก (conscious) จิตใต้สำนึก (subconscious) และจิตไร้สำนึก (unconscious) จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกอยู่เฉพาะภายในสมอง จิตสำนึกอยู่ในรูปแบบของการสำนึกรู้และการคิด จิตใต้สำนึกส่วนใหญ่ ซ่อนเร้นอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์เก็บความจำ คือ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ส่วนจิตไร้สำนึก หมายถึง การสื่อสารระหว่างสมองกับทุกเซลล์และทุกอวัยวะภายในร่างกาย 2. การสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับภายนอกร่างกายของตนเอง หรือกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่กระทำโดยจิตสำนึกที่เกิดจากการส่งสาร และรับสารผ่านประสาทการรับรู้ แต่ก็มีการสื่อสารกับภายนอกอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึก เพราะในบรรดารูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส ที่ผ่านตาม ลิ้น จมูก หู หรือผิวหนังเข้าสู่สมองของเรานั้น จะมีเพียงส่วนเดียวที่เรารับรู้ในระบบจิตสำนึกของเรา นอกจากนั้นอาจจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก เช่น เสียงของทำนองเพลง (melody) ที่ขับร้องโดยนักร้องเพียงคนเดียว มักจะผ่านเข้าทางระบบจิตสำนึกแต่เสียงประสาน (harmony) ของเครื่องดนตรีนับร้อยชิ้นมักจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก กระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งมีชีวิต แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตได้วิวัฒนามาเป็นมนุษย์ กระบวนการสื่อสารก็ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีพลัง สมรรถภาพและสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น เฉพาะภายในร่างกายก็ได้มีพัฒนาการของเนื้อเยื่อใหม่ (neocortex) ของสมองส่วนบน ที่ทำให้มีการเรียนรู้ การคิด เกิดปัญญา (intellignce) และภูมิปัญญา (wisdom) ที่เหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ แม้ในหมู่สปีชีส์ที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ อาทิ ลิงชิมแปนซี หรือลิงโบโนโบ ส่วนด้านภายนอกร่างกาย มนุษย์ก็ได้อาศัยสมองปัญญาและมือซึ่งเป็นมรดกของมนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) สร้างเครื่องมือหรือส่วนขยายของมือ (extension of hands) นับตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงสถานีอวกาศ อย่างไรก็ตาม กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ตั้งแต่จุดแรกเริ่มกำเนิดมนุษย์จนถึงเอประมาณห้าแสนปี ก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือ เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับชีวิต และต้องดำเนินไปเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อชีวิต (communication for life) และเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยอัตโนมัติ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือละเลยได้ (compulsory communication) การสื่อสารโดยธรรมชาติตอบสนองความต้องการทางเพศและความต้องการทางสังคม เพื่อทำให้อัตตา (self) ชาติพันธุ์ (race) และสปีชีส์ (species) ของตนอยู่รอดปลอดภัย นั่นคือ บทบาทหน้าที่ (function) ที่เป็นเหตุผลหลักของการที่มนุษย์จะต้องมีการสื่อสาร ส่วนบทบาทหน้าที่อื่นก็เพิ่มเสริมเข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่ขยายออกมาถึงระดับชื่อเสียง ความภาคภูมิใจและอำนาจเหนือผู้อื่น กระนั้นก็ตาม บทบาทหน้าที่ในการอยู่รอดปลอดภัยของชีวิตและสังคมก็ยังมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเรื่อยมา ยิ่งมีอันตรายหรืออุปสรรคต่อการอยู่รอดปลอดภัยมาก มนุษย์ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และนี่เองที่ทำให้สมองของมนุษย์มีพัฒนาการขึ้นในส่วนหน้าด้านซ้ายของเนื้อเยื่อใหม่ จนสามารถทำให้มนุษย์พูดเป็นคำได้เมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อน การสื่อสารเป็นคำ (verval communication) หรือการพูดทำให้สื่อสารกันได้เร็วจนสามารถ ที่จะลดหรือป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือมนุษย์กลุ่มอื่น เพราะมันเป็นความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของภาษา. จากภาษาพูดมาสู่ภาษาภาพ และภาษาเขียน หลักฐานภาษาภาพที่ได้พบที่ถ้ำลาสโกส์และถ้ำโซเวต์ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิราในสเปน รวมทั้งหลายแห่งในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มีความหมายเกี่ยวกับอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ ทำให้เราต้องสันนิษฐานว่า ภาษาพูดอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการลดหรือขจัดอันตรายต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์เสียแล้ว ไม่ว่าเขาจะอยู่ในท้องถิ่นทวีปใด ภัยอันตรายจากสัตว์หรือมนุษย์กลุ่มอื่นอาจลดได้ ป้องกันได้โดยการรวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ภาษาพูด แต่ยังมีภัยอันตรายอีกมากมายหลายอย่างที่มนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาพจนตรอกจนใจ จนทำอะไรไม่ได้ แม้จะมีการรวมตัวรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเข้มแข็งเพียงใดก็ตาม ภัยอันตรายจากพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ฟ้าผ่า เชื้อโรค และความกลัวอันตรายที่เกิดจากอวิชชา เมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวหาง ดาวตก ภัยอันตรายและความกลัวอันตรายนี่เองที่อาจทำให้มนุษย์ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อระบายความรู้สึกกลัว หรือพยายามติดต่อสื่อสารขอความเห็นใจจากอำนาจ ลึกลับที่อาจอยู่เบื้องหลังอาจจะต้องร้อง เต้น เขียนภาพ ฆ่าสัตว์ หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองเพื่อบูชายันต์ การพยายามสื่อสารกับ อำนาจลึกลับก่อให้เกิดศาสนาโบราณและไสยศาสตร์ของชนเผ่าต่าง ๆ ในทุกทวีป แต่เมื่อประมาณสามพันปีศาสดาผู้เปรื่องปราชญ์และทรงปัญญา ได้เสนอหลักศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสันติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ทำให้เกิดศาสนาต่าง ๆ ต่อเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ ได้แก่ ฮินดู ขงจื้อ พุทธ คริสต์ อิสลาม สิกข์ (sikn) และบาไฮ การสื่อสารกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของศาสนาและไสยศาสตร์ ทั้งในด้านการสถาปนาและในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอน การสถาปนาลัทธิความเชื่อ ได้แก่ การสร้างเรื่อง (story-making) การเล่าเรื่อง (story-telling) เกี่ยวกับอำนาจลึกลับ เทพเจ้า พระเจ้าหรือภูตผีปีศาจ แม้ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ก็ยังมุ่งใช้จิตวิทยาการสร้างเรื่อง สร้างสมมติเทพ และนิทานชาดก เกี่ยวกับการประสูติในชาติและรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพื่อชักจูงโน้มน้าวประชาชนให้ตื่นเต้น สนใจ และเลื่อมใสศรัทธา อาทิ ลัทธิดินแดนบริสุทธิ์ของจีนเชื่อว่าถ้ามีศรัทธาในอำนาจของอมิตาภา ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าของเขตปัจฉิม จะได้ไปเกิดใหม่ในแดนสุขาวดี ซึ่งปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง มีพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่กลับมาเกิดในหลายชาติ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ก่อนที่จะบรรลุการตรัสรู้สูงสุดและกลายเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง อวโลกิตศวร ก็ถือกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา สงสาร ซึ่งคนจีนเชื่อว่าปรากฏออกมาในร่างเจ้าแม่กวนอิม ผู้ทรงเมตตาและให้ทานแก่เด็กคอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และนักเดินทางในแดนกันดาร ส่วนในจักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ได้สลักเป็นจตุรพักตร์ขึ้นไว้ทั้ง 54 ปรางค์ ในบริเวณปราสาทบายน (ไพชยนต์) ในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอนได้มีการใช้ปัจจัยกลยุทธ์ ทั้งในการสร้างสื่อและในการสร้างสาร ศาสนาพุทธสื่อสารเผยแพร่ด้วยภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบ้านอินเดียในยุคนั้นเข้าใจง่ายจนสามารถเข้าถึงหลักการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคลและการสื่อสารสังคมเป็นอย่างดี ทุกศาสนามีการใช้คำอุปมาอุปไมย (metaphor) ที่ทำให้เข้าใจคำสอนได้อย่างลึกซึ้ง ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ลัทธิลูเธอร์อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1536 โดยนักปฏิรูปศาสนา ฌอง กัลแวง (Jean Calvin) เริ่มต้นด้วยหนังสือ เรื่อง สถาบันศาสนาคริสต์ (“L’ Institution de la Religion Chrétianne”) ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ตั้งวิทยาลัยเผยแพร่ศรัทธา (propaganda fide) ในปี ค.ศ. 1622 เพื่อผลิตมิชชันนารีเป็นสื่อบุคคลออกไปสอนศาสนาในต่างประเทศ นับว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่สอนวิชานิเทศศาสตร์ แต่ก็ยังไม่มีองค์ความรู้ที่พอจะนับเป็นหลักทฤษฎีได้ ในยุคก่อนทฤษฎีนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการศึกษาเรื่องการสื่อสาร โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ชาร์ล ดาร์วิน (Charle Darwin) เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้เขียนหนังสือรายงานการศึกษาเล่มใหญ่ เรื่อง “The Expression of Emotions in Man And Animals” (การแสดงอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์) ในปี ค.3ศ. 1872 โดยสรุป ในช่วงก่อนทฤษฎีนี้ ยังมิได้มีการศึกษาการสื่อสารอย่างจริงจัง ทั้งในระดับวิชาชีพและวิชาการ ที่เห็นได้ชัดคือยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรการสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์เป็นสาขา (discipline) ในมหาวิทยาลัย แม้ว่าได้มีความพยายามที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสื่อสารบ้างแล้วก็ตาม ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ได้มีการพัฒนาวิชาการทางด้านการสื่อสาร สร้างเป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในสถาบันชั้นสูง เป็นการนำวิชาการสื่อสารเข้าสู่ยุคทฤษฎีช่วงแรก ก่อนที่จะวิวัฒนาการไปสู่ยุคสมัยนิยม จึงอาจเรียกยุคนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคก่อนสมัยนิยม (pre-modern age) มีแนวโน้มพัฒนาหลักการรายงานข่าวสารในชีวิตประจำวันให้เป็นศิลปะศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า วารสารศาสตร์ (journalism) ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกประมาณทศวรรษ 1890 ถึงประมาณทศวรรษ 1920 และช่วงที่สองทศวรรษที่ 1920 ถึงประมาณทศวรรษที่ 1940การสื่อสารกับการเรียนการสอน วิธีสอนและกิจกรรม เนื้อหา ระยะเวลา ทดสอบก่อนเรียน ผู้เรียน ทดสอบหลังเรียน จุดมุ่งหมาย สถานที่/สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย 2. การทดสอบก่อนการเรียน (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้ 3. ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ 4. การทดสอบหลังการเรียน (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล 4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่าง ๆ แล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอด และวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อสารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อและช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดี ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรู้ในทางนิเทศศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และการปฏิบัติงานทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดยทางอ้อม อาทิ การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยาและสังคมวิทยา) การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์) เราอาจแยกแยะให้เห็นความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสารแนวต่าง ๆ ได้ดังนี้
ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
 • ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
                      ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร
 • ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
 • ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
              ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory) ใช้เป็นหลักในการบริหารและปฏิบัติงานสื่อสารทุกประเภทในสาขานิเทศศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการสื่อสารมวลชน การสื่อสารพัฒนาการ การสื่อสารการเมืองหรือการสื่อสารธุรกิจ ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาอารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งการพัฒนาพฤติกรรม อาทิ การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ความเพลิดเพลิน ความบันเทิงหรือจิตบำบัด นอกจากนั้นยังจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม วิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ จัดว่าเป็นการรวมทฤษฎีแนวปฏิบัติไว้ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาทั้งในเชิงองค์รวมและเชิงแยกส่วน... เชิงองค์รวมอยู่ในวิชาแกนบังคับร่วมเชิงแยกส่วนอยู่ในวิชาเอกบังคับสาขาต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร
 • ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
 • ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
 • ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory) ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และวิพากษ์วิจารณ์การสื่อสารภายในองค์กร การสื่อสารสาธารณะ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารระหว่างประเทศ หรือการสื่อสารของโลก สามารถใช้เป็นพื้นฐานความคิดของการสร้างสมมติฐานในงานวิจัย และการแสวงหาแนวหรือประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์สื่อหรือการสื่อสารโดยนักวิชาการ หรือนักวิจารณ์สื่อ (media critics) การศึกษาทฤษฎีแนววิพากษ์ ควรอยู่ในวิชาปีสูงของระดับปริญญาตรี หรือในวิชาส่วนใหญ่ของระดับปริญญาโท ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory) ใช้เป็นหลักในการแสวงหา (searching) หรือพิสูจน์ (proving) ข้อเท็จจริง หรือสัจจะ ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานหลักเพื่อการพัฒนาการบริหารหรือการปฏิบัติงานการสื่อสารทุกประเภท รวมทั้งใช้เป็นหลักในการปรับปรุงวิพากษ์วิจารณ์สื่อ หรือการสื่อสารให้มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรค์ ปรัชญาในที่นี้มิได้หมายถึงวิชาปรัชญาทั่วไป (general philosophy) แต่หมายถึงแนวคิดลึกซึ้งและกว้างขวางบนพื้นฐานการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสมมติฐานของการวิจัย และการอ้างอิงในการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์เปิดโอกาสให้เพิ่มขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ แนวดิ่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าลึกซึ้งในความหมายปรัชญา วัตถุประสงค์บทบาทหน้าที่ สิทธิเสรีภาพ และความรับผิดชอบของการสื่อสารประเภทต่าง ๆ แนวราบ ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างนิเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ อาทิ จิตวิทยา สังคมวิทยา สังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) พิภพศาสตร์ (Earth sciences) นอกจากนั้น ยังอาจนำไปสู่การปฏิรูปหรือการปฏิวัติวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์ ให้มีคุณประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อชีวิตและโลก ก่อให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุนในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในประเทศต่าง ๆ และในโลกมนุษย์โดยรวม
ทฤษฎีไซเบอร์เนติกส์ของนอร์เบิร์ต วีเนอร์ และทฤษฎีสารเวลาขาองสมควร กวียะ (เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545) เป็นตัวอย่างของทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปบูรณาการกับศาสตร์ทุกแขนงทั้งในทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ส่วนทฤษฎีปทัสถานซึ่งเริ่มต้นโดยวิลเบอร์ชรามม์แสดงให้เห็นถึงการศึกษาเจาะลึกลงไปในบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของสื่อในปริบทของประเทศต่าง ๆ ที่มีปทัสถานทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ เสรีนิยม อำนาจนิยม เบ็ดเสร็จนิยม และทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารทุกแนวและทุกระดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษา ทางนิเทศศาสตร์ที่จำเป็นต่อการทำงานและการวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสาร เช่นเดียวกับทฤษฎีในศาสตร์ทุกแขนง ทฤษฎีการสื่อสารมีประโยชน์ต่อชีวิต องค์กร สังคม และโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การศึกษาหรือการทำงานที่ปราศจากหลักการหรือทฤษฎี ย่อมเปรียบเสมือนการแล่นเรือออกไปสู่จุดหมายปลายทางอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร โดยปราศจากความรู้ทางภูมิศาสตร์ อุตุนิยม ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นอกจากจะขาดประสิทธิผล (คือแล่นเรือไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง) หรือขาดประสิทธิภาพ (คือแล่นเรือไปถึงช้ากว่ากำหนด) แล้วยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหาที่สำคัญสองประการคือ ความเสียหายจากภัยอันตราย (เช่น เรือเกยหินโสโครกหรือเรือแตกเพราะพายุ) และความเสียหายจากการพลาดโอกาส (เช่น ท้องเรือว่าง ยังบรรทุกสินค้าบางประเภทได้อีก แต่ไม่รู้ไม่สนใจความต้องการ ของตลาด) ในทางนิเทศศาสตร์ ความเสียหายจากภัยอันตราย (risk cost) เห็นได้ชัดจากการสื่อสารโดยไม่รู้กฎหมายหรือจริยธรรมและการสื่อสารโดยไม่รู้หลักจิตวิทยา ความเสียหายจากการพลาดโอกาส (opportunity cost) อาจได้แก่ การบริหารสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์โดยขาดความรู้หรือไม่คำนึงถึงศักยภาพของเครื่องส่งหรือของบุคลากร การไม่ถือโอกาสสื่อสารทำความเข้าใจเมื่อเราได้พบบุคคลที่มีปัญหาขัดแย้งกับเรา ทั้งนี้เพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมของนิวคอมบ์ ซึ่งบอกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นโอกาสสำคัญของการประนีประนอมความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความเสียหายอันเกิดจากการพลาดโอกาสในทางนิเทศศาสตร์ อาจมีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การมิได้รายงานหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสภาพอากาศให้ชาวประมงทราบ อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อชีวิตและเรือประมง ดังเช่น กรณีพายุที่ขึ้นฝั่งภาคใต้ของไทย หลายครั้ง การมิได้สื่อสารสร้างความอบอุ่นในครอบครัว อาจนำไปสู่การติดยาของลูกหลาน หรือแม้แต่การฆ่าตัวตายตามทฤษฏีของเอมิลดูรแกง (Émile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้เขียน “Le Suicide” (การฆ่าตัวตาย) ในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งได้เสนอว่าสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการฆ่าตัวตาย คือความวิปริตผิดปกติ (anomaly) ที่มิได้มีการระบายถ่ายเทด้วยการสื่อสารกับบุคคลอื่น
วิวัฒนาการของทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น ทฤษฎีการสื่อสารยุคกลาง
 • ทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน ยุคก่อนทฤษฎีการสื่อสาร ยุคก่อนทฤษฎี (pre-theoritical period) อาจย้อนหลังไปหลายล้านปี เมื่อสัตว์ประเภทหนึ่งได้มีวิวัฒนาการมาสู่ความเป็นมนุษย์นับกลับมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิวัฒนาการสามพันห้าร้อยล้านปีของสมองชีวิต (brain of life) ได้สร้างเสริมให้สมองของมนุษย์มีสมรรถนะหลายพันล้านเท่าของสมองแบคทีเรีย และนี่เองที่ทำให้มนุษย์วานรได้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ผู้ชำนาญในการใช้มือ (homo habills) มนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) มนุษย์ผู้ฉลาด (homo sapiens) และมนุษย์ผู้ฉลาดแสนฉลาด (homo sapiens sapiens) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตลอดช่วงระยะเวลาของวิวัฒนาการสมองได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร 2 ระบบ คือ (1) การสื่อสารภายในร่างกาย และ (2) การสื่อสารระหว่างร่างกายกับภายนอก ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ (species) เดียวกัน และกับสิ่งภายนอกที่รับรู้ได้โดยอาศัยช่องทางหรือประสาทการสื่อสาร 1. การสื่อสารภายในร่างกายเป็นไปทั้งโดยมีจิตสำนึก (conscious) จิตใต้สำนึก (subconscious) และจิตไร้สำนึก (unconscious) จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกอยู่เฉพาะภายในสมอง จิตสำนึกอยู่ในรูปแบบของการสำนึกรู้และการคิด จิตใต้สำนึกส่วนใหญ่ ซ่อนเร้นอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์เก็บความจำ คือ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ส่วนจิตไร้สำนึก หมายถึง การสื่อสารระหว่างสมองกับทุกเซลล์และทุกอวัยวะภายในร่างกาย 2. การสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับภายนอกร่างกายของตนเอง หรือกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่กระทำโดยจิตสำนึกที่เกิดจากการส่งสาร และรับสารผ่านประสาทการรับรู้ แต่ก็มีการสื่อสารกับภายนอกอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึก เพราะในบรรดารูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส ที่ผ่านตาม ลิ้น จมูก หู หรือผิวหนังเข้าสู่สมองของเรานั้น จะมีเพียงส่วนเดียวที่เรารับรู้ในระบบจิตสำนึกของเรา นอกจากนั้นอาจจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก เช่น เสียงของทำนองเพลง (melody) ที่ขับร้องโดยนักร้องเพียงคนเดียว มักจะผ่านเข้าทางระบบจิตสำนึกแต่เสียงประสาน (harmony) ของเครื่องดนตรีนับร้อยชิ้นมักจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก กระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งมีชีวิต แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตได้วิวัฒนามาเป็นมนุษย์ กระบวนการสื่อสารก็ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีพลัง สมรรถภาพและสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น เฉพาะภายในร่างกายก็ได้มีพัฒนาการของเนื้อเยื่อใหม่ (neocortex) ของสมองส่วนบน ที่ทำให้มีการเรียนรู้ การคิด เกิดปัญญา (intellignce) และภูมิปัญญา (wisdom) ที่เหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ แม้ในหมู่สปีชีส์ที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ อาทิ ลิงชิมแปนซี หรือลิงโบโนโบ ส่วนด้านภายนอกร่างกาย มนุษย์ก็ได้อาศัยสมองปัญญาและมือซึ่งเป็นมรดกของมนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) สร้างเครื่องมือหรือส่วนขยายของมือ (extension of hands) นับตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงสถานีอวกาศ อย่างไรก็ตาม กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ตั้งแต่จุดแรกเริ่มกำเนิดมนุษย์จนถึงเอประมาณห้าแสนปี ก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือ เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับชีวิต และต้องดำเนินไปเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อชีวิต (communication for life) และเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยอัตโนมัติ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือละเลยได้ (compulsory communication) การสื่อสารโดยธรรมชาติตอบสนองความต้องการทางเพศและความต้องการทางสังคม เพื่อทำให้อัตตา (self) ชาติพันธุ์ (race) และสปีชีส์ (species) ของตนอยู่รอดปลอดภัย นั่นคือ บทบาทหน้าที่ (function) ที่เป็นเหตุผลหลักของการที่มนุษย์จะต้องมีการสื่อสาร ส่วนบทบาทหน้าที่อื่นก็เพิ่มเสริมเข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่ขยายออกมาถึงระดับชื่อเสียง ความภาคภูมิใจและอำนาจเหนือผู้อื่น กระนั้นก็ตาม บทบาทหน้าที่ในการอยู่รอดปลอดภัยของชีวิตและสังคมก็ยังมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเรื่อยมา ยิ่งมีอันตรายหรืออุปสรรคต่อการอยู่รอดปลอดภัยมาก มนุษย์ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และนี่เองที่ทำให้สมองของมนุษย์มีพัฒนาการขึ้นในส่วนหน้าด้านซ้ายของเนื้อเยื่อใหม่ จนสามารถทำให้มนุษย์พูดเป็นคำได้เมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อน การสื่อสารเป็นคำ (verval communication) หรือการพูดทำให้สื่อสารกันได้เร็วจนสามารถ ที่จะลดหรือป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือมนุษย์กลุ่มอื่น เพราะมันเป็นความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของภาษา. จากภาษาพูดมาสู่ภาษาภาพ และภาษาเขียน หลักฐานภาษาภาพที่ได้พบที่ถ้ำลาสโกส์และถ้ำโซเวต์ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิราในสเปน รวมทั้งหลายแห่งในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มีความหมายเกี่ยวกับอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ ทำให้เราต้องสันนิษฐานว่า ภาษาพูดอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการลดหรือขจัดอันตรายต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์เสียแล้ว ไม่ว่าเขาจะอยู่ในท้องถิ่นทวีปใด ภัยอันตรายจากสัตว์หรือมนุษย์กลุ่มอื่นอาจลดได้ ป้องกันได้โดยการรวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ภาษาพูด แต่ยังมีภัยอันตรายอีกมากมายหลายอย่างที่มนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาพจนตรอกจนใจ จนทำอะไรไม่ได้ แม้จะมีการรวมตัวรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเข้มแข็งเพียงใดก็ตาม ภัยอันตรายจากพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ฟ้าผ่า เชื้อโรค และความกลัวอันตรายที่เกิดจากอวิชชา เมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวหาง ดาวตก ภัยอันตรายและความกลัวอันตรายนี่เองที่อาจทำให้มนุษย์ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อระบายความรู้สึกกลัว หรือพยายามติดต่อสื่อสารขอความเห็นใจจากอำนาจ ลึกลับที่อาจอยู่เบื้องหลังอาจจะต้องร้อง เต้น เขียนภาพ ฆ่าสัตว์ หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองเพื่อบูชายันต์ การพยายามสื่อสารกับ อำนาจลึกลับก่อให้เกิดศาสนาโบราณและไสยศาสตร์ของชนเผ่าต่าง ๆ ในทุกทวีป แต่เมื่อประมาณสามพันปีศาสดาผู้เปรื่องปราชญ์และทรงปัญญา ได้เสนอหลักศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสันติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ทำให้เกิดศาสนาต่าง ๆ ต่อเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ ได้แก่ ฮินดู ขงจื้อ พุทธ คริสต์ อิสลาม สิกข์ (sikn) และบาไฮ การสื่อสารกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของศาสนาและไสยศาสตร์ ทั้งในด้านการสถาปนาและในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอน การสถาปนาลัทธิความเชื่อ ได้แก่ การสร้างเรื่อง (story-making) การเล่าเรื่อง (story-telling) เกี่ยวกับอำนาจลึกลับ เทพเจ้า พระเจ้าหรือภูตผีปีศาจ แม้ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ก็ยังมุ่งใช้จิตวิทยาการสร้างเรื่อง สร้างสมมติเทพ และนิทานชาดก เกี่ยวกับการประสูติในชาติและรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพื่อชักจูงโน้มน้าวประชาชนให้ตื่นเต้น สนใจ และเลื่อมใสศรัทธา อาทิ ลัทธิดินแดนบริสุทธิ์ของจีนเชื่อว่าถ้ามีศรัทธาในอำนาจของอมิตาภา ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าของเขตปัจฉิม จะได้ไปเกิดใหม่ในแดนสุขาวดี ซึ่งปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง มีพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่กลับมาเกิดในหลายชาติ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ก่อนที่จะบรรลุการตรัสรู้สูงสุดและกลายเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง อวโลกิตศวร ก็ถือกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา สงสาร ซึ่งคนจีนเชื่อว่าปรากฏออกมาในร่างเจ้าแม่กวนอิม ผู้ทรงเมตตาและให้ทานแก่เด็กคอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และนักเดินทางในแดนกันดาร ส่วนในจักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ได้สลักเป็นจตุรพักตร์ขึ้นไว้ทั้ง 54 ปรางค์ ในบริเวณปราสาทบายน (ไพชยนต์) ในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอนได้มีการใช้ปัจจัยกลยุทธ์ ทั้งในการสร้างสื่อและในการสร้างสาร ศาสนาพุทธสื่อสารเผยแพร่ด้วยภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบ้านอินเดียในยุคนั้นเข้าใจง่ายจนสามารถเข้าถึงหลักการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคลและการสื่อสารสังคมเป็นอย่างดี ทุกศาสนามีการใช้คำอุปมาอุปไมย (metaphor) ที่ทำให้เข้าใจคำสอนได้อย่างลึกซึ้ง ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ลัทธิลูเธอร์อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1536 โดยนักปฏิรูปศาสนา ฌอง กัลแวง (Jean Calvin) เริ่มต้นด้วยหนังสือ เรื่อง สถาบันศาสนาคริสต์ (“L’ Institution de la Religion Chrétianne”) ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ตั้งวิทยาลัยเผยแพร่ศรัทธา (propaganda fide) ในปี ค.ศ. 1622 เพื่อผลิตมิชชันนารีเป็นสื่อบุคคลออกไปสอนศาสนาในต่างประเทศ นับว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่สอนวิชานิเทศศาสตร์ แต่ก็ยังไม่มีองค์ความรู้ที่พอจะนับเป็นหลักทฤษฎีได้ ในยุคก่อนทฤษฎีนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการศึกษาเรื่องการสื่อสาร โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ชาร์ล ดาร์วิน (Charle Darwin) เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้เขียนหนังสือรายงานการศึกษาเล่มใหญ่ เรื่อง “The Expression of Emotions in Man And Animals” (การแสดงอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์) ในปี ค.3ศ. 1872 โดยสรุป ในช่วงก่อนทฤษฎีนี้ ยังมิได้มีการศึกษาการสื่อสารอย่างจริงจัง ทั้งในระดับวิชาชีพและวิชาการ ที่เห็นได้ชัดคือยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรการสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์เป็นสาขา (discipline) ในมหาวิทยาลัย แม้ว่าได้มีความพยายามที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสื่อสารบ้างแล้วก็ตาม ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ได้มีการพัฒนาวิชาการทางด้านการสื่อสาร สร้างเป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในสถาบันชั้นสูง เป็นการนำวิชาการสื่อสารเข้าสู่ยุคทฤษฎีช่วงแรก ก่อนที่จะวิวัฒนาการไปสู่ยุคสมัยนิยม จึงอาจเรียกยุคนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคก่อนสมัยนิยม (pre-modern age) มีแนวโน้มพัฒนาหลักการรายงานข่าวสารในชีวิตประจำวันให้เป็นศิลปะศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า วารสารศาสตร์ (journalism) ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกประมาณทศวรรษ 1890 ถึงประมาณทศวรรษ 1920 และช่วงที่สองทศวรรษที่ 1920 ถึงประมาณทศวรรษที่ 1940

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น